วันพุธที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2554

โรคไข้หวัดนก

เชื้อก่อโรค
         
เกิด จากเชื้อไวรัส Avian Influenza type A ในตระกูล Orthomyxoviridae ซึ่งเป็น RNA ไวรัสชนิดมีเปลือกหุ้ม โดยมีแอนติเจนที่ผิวที่สำคัญ ได้แก่ Hemagglutinin (H) มี 15 ชนิด และ Neuraminidase (N) มี 9 ชนิด

สัตว์รังโรค
         
นกเป็ดน้ำ นกอพยพ และนกตามธรรมชาตินั้นแหล่งรังโรคโดยไม่แสดงอาการ เป็ด ไก่ ในฟาร์มและในบ้านสามารถติดเชื้อและแสดงอาการ

วิธีการติดต่อระหว่างสัตว์
         
เชื้อไวรัสโดยจะขับถ่ายไวรัสออกมาทางอุจจาระจากนก และติดต่อสู่สัตว์ปีกที่ไวรับเชื้อทางระบบทางเดินหายใจ และทางเดินอาหาร

ระยะฟักตัวและอาการในสัตว์
         
ระยะ ฟักตัวสั้นเพียงไม่กี่ชั่วโมง ถึง 3 วัน ในสัตว์มีอาการซึม ซูบผอม ไม่กินอาหาร ขนยุ่ง ไข่ลด ไอ จาม หายใจลำบาก หน้าบวม หงอนและเหนียงบวม มีสีคล้ำ มีอาการทางประสาท ท้องเสีย อาจตายกะทันหันโดยไม่แสดงอาการ อัตราการตายอาจสูงถึง 100%

วิธีการติดต่อระหว่างสัตว์สู่คน
         
คน สามารถติดเชื้อจากสัตว์ได้จากการสัมผัสสัตว์ป่วยโดยตรง และโดยทางอ้อมจากการสัมผัสกับสิ่งคัดหลั่งจากสัตว์ที่เป็นโรคเช่นอุจจาระ น้ำมูก น้ำตา น้ำลายของสัตว์ป่วย จากการเฝ้าระวังโรค ยังไม่มีการติดต่อระหว่างคนและคน ผู้ที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรค ได้แก่ผู้ทีมีอาชีพและใกล้ชิดสัตว์ปีก เช่น ผู้เลี้ยง ฆ่า ขนส่ง ขนย้าย ผู้ขายสัตว์ปีกและซากสัตว์ปีก สัตวบาล และสัตวแพทย์ รวมถึงเด็กๆที่เล่นและคลุกคลีกับสัตว์

ระยะฟักตัวและอาการในคน
         
ระยะ ฟักตัวในคนสั้น ประมาณ 1 ถึง 3 วัน ในคนอาจมีอาการทางระบบทางเดินหายใจแบบเฉียบพลัน มีไข้สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย มีน้ำมูก ไอ และเจ็บคอ บางครั้งพบว่ามีอาการตาแดง ซึ่งจะหายเองได้ภายใน 2 ถึง 7 วัน หากมีอาการแทรกซ้อนจะมีอาการรุนแรงถึงปอดบวมและเกิดระบบหายใจล้มเหล็ว (Acute Respiratory Distress Syndrome)ได้ โดยเฉพาะในเด็กและผู้สูงอายุ

การป้องกันโรคและดูแลสุขภาพของชาวบ้าน
          1.
หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ปีกที่มีอาการป่วย หรือ ตาย โดยเฉพาะเด็ก
          2. หากต้องสัมผัสกับสัตว์ปีกในระยะที่มีการระบาดในพื้นที่ให้สวมหน้ากากอนามัย สวมถุงมือ
          3. ล้างมือทุกครั้งหลังการสัมผัสสัตว์ปีกและสิ่งคัดหลังของสัตว์ปีกด้วยสบู่ละน้ำ
          4. หาก มีอาการเป็นไข้ ไอ โดยเฉพาะผู้มีอาชีพเลี้ยง ฆ่า ขนส่ง ขนย้าย และขายสัตว์ปีก หรือเกี่ยวข้องกับซากสัตว์ปีก ให้รีบมาพบแพทย์และบอกประวัติการสัมผัสพร้อมอาการ

คำแนะนำของ อย. เรื่อง การบริโภคเนื้อไก่ เป็ด ห่าน และ ไข่ทุกชนิด ให้ปลอดภัยจากไข้หวัดนก          สถานการณ์ การระบาดของโรคไข้หวัดนก เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่นกชนิดเอ (Avian Influenza type A) ในตระกูล Orthomyxoviridae ซึ่งเป็น RNA ไวรัสชนิดมีเปลือกหุ้ม โดยมีแอนติเจนที่สำคัญ ได้แก่ H5N1 โดยโรคไข้หวัดนกเป็นโรคติดต่อที่มาจากนก เป็นพาหะนำไปแพร่ระบาดสู่เป็ด ไก่ หรือนกที่เลี้ยงไว้ จนทำให้ผู้บริโภคเกิดความวิตกกังวลว่าการบริโภคเนื้อไก่ เป็ด ห่าน และไข่ทุกชนิด จะทำให้ติดเชื้อไข้หวัดนกได้ เพื่อให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจในการบริโภคและสามารถบริโภคได้อย่างปลอดภัย สำนักงานคณะกรรมการอาหาร และยา (อย.) จึงได้จัดทำคำตอบสำหรับประเด็นที่ผู้บริโภคมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการบริโภค สัตว์ปีกและไข่

1. เมื่อเกิดกรณีโรคระบาดในไก่ อย. ได้มีการดำเนินการอย่างไรบ้าง
          - เมื่อเกิดสถานการณ์โรคระบาดในไก่ อย. ก็ได้มีการประสานงานอย่างใกล้ชิดกับองค์การอนามัยโลก (WHO) กรมควบคุมโรคและกรมปศุสัตว์ และมีการประเมินสถานการณ์ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นต่อ ผู้บริโภคตลอดมา โดย ยึดหลักความปลอดภัยสูงสุดของผู้บริโภค การดำเนินมาตรการต่าง ๆ ตั้งแต่ต้นอยู่บนพื้นฐานว่าเป็นไข้หวัดนก แต่แรก

2. การบริโภคเนื้อไก่ , เป็ด , ห่าน และไข่ทุกชนิดมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคเพียงใด
          - เชื้อไข้หวัดใหญ่นก ไม่ใช่โรคติดต่อทางเดินอาหาร แต่เป็นโรคติดต่อทางเดินหายใจ นอกจากนี้เชื้อไวรัส ไข้หวัดนกไม่สามารถทนต่อความร้อนที่สูงเกิน 70 องศาเซลเซียสได้ การทอด ต้ม นึ่ง อบ หรือ ย่าง โดยปกติ ก็จะสามารถฆ่าเชื้อได้ แต่ส่วนใหญ่การปรุงอาหารจะใช้ความร้อนเกินอยู่แล้ว กรณีที่มีเชื้อปะปนมาก็จะถูกทำลาย ไป ผู้บริโภคจึงสามารถรับประทานได้อย่างปลอดภัยโดยไม่ต้องกังวล
3. แม่บ้าน/ผู้ปรุงอาหาร ที่สัมผัสกับเนื้อไก่ , เป็ด , ห่านโดยตรงในขณะปรุงอาหารมีอันตราย หรือไม่ และควรปฏิบัติตัวอย่างไร
          - จน ณ บัดนี้ ไม่เคยปรากฏว่ามีแม่บ้าน/แม่ครัวติดเชื้อไข้หวัดนกจากการปรุงอาหารเลย แม้ว่า จะมีการระบาดใหญ่ของไข้หวัดนกในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกมาร่วม 20 ครั้งแล้ว อย่างไรก็ตาม เชื้อไข้หวัดนกอาจพบได้ใน สัตว์ปีก และไข่ ถึงแม้จะมีโอกาสน้อยก็ตาม ดังนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงใด ๆ ก็แนะนำให้ล้างมือ และภาชนะ ให้สะอาด เพราะเชื้อนี้ถูกฆ่าตาย ได้โดยง่ายด้วยสบู่ หรือน้ำยาซักล้าง อยู่แล้ว
         
ควรแยกเขียงหรือมีดที่ใช้ในการปรุงอาหารสุกจากอาหารที่ยังไม่ปรุง เพื่อมิให้มีการปนเปื้อนเชื้อโรคไปยังอาหาร ที่สุก

4. อาหารที่มีไข่ดิบและไข่ที่ไม่สุกเป็นส่วนประกอบ จะทำให้ผู้บริโภคติดโรคไข้หวัดนกได้ หรือไม่
          - เช่นเดียวกัน โรคไข้หวัดนกไม่ใช่โรคติดต่อทางเดินอาหาร ยังไม่เคยมีรายงานผู้ป่วยไข้หวัดนกจากการ รับประทานไข่ในท้องตลาดมาก่อน อย่างไรก็ตาม เพื่อความมั่นใจ ควรล้างเปลือกไข่ก่อนนำไปปรุงอาหาร และการประกอบอาหารที่ใช้ไข่แดงและไข่ขาว ขอแนะนำให้ทำให้สุก ๆ

5. อาหารต่าง ๆ ที่ใช้ไก่ เป็ด ห่าน และไข่ เป็นส่วนประกอบที่ขายสำเร็จรูปในท้องตลาดมีความปลอดภัย หรือไม่
          - อาหารแปรรูป อาหารพร้อมบริโภคที่มีการจำหน่ายในท้องตลาด ถ้ามาจากสถานที่ผลิตที่ได้มาตรฐาน ได้รับ เครื่องหมาย อย. ที่ถูกต้อง และผ่านเกณฑ์จีเอ็มพี แล้ว จะเป็นอาหารที่มีความปลอดภัย เพราะมีกระบวนการผลิตที่ผ่านความร้อน หรือมีความเป็นกรดด่างที่เชื้อโรค ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้อยู่แล้ว
          สำหรับ น้ำสลัด มายองเนส ที่กระบวนการผลิตมีการฆ่าเชื้อด้วยความร้อน และมีระดับความเป็นกรด ทำให้เชื้อโรคต่างๆ ไม่สามารถอยู่ได้ รวมทั้งไข้หวัดนกซึ่งจะอยู่ได้ในสภาพที่มีค่าความเป็นกรด-ด่าง (PH) 5.5-8 เท่านั้น ส่วนอาหารประเภทที่นำไข่แดงดิบมาปรุงโดยตรง เช่น ไอศกรีมไข่แข็ง ซึ่งเป็นการนำไข่แดงดิบมาตีแล้วราดลงบน ไอศกรีม ความเย็นไม่สามารถทำลายเชื้อได้ ควรหลีกเลี่ยงดีกว่า

6. ปลาที่อยู่ในบ่อใต้กรงไก่ เชื้อจะแพร่ระบาดไปสู่ปลาได้หรือไม่ ผู้บริโภคปลาดังกล่าวจะได้รับเชื้อไข้หวัด นกด้วยหรือไม่
          - เชื้อไข้หวัดนกสามารถอยู่ในน้ำที่มีอุณหภูมิ 22 องศาเซลเซียส ได้ประมาณ 4 วัน แต่อย่างไรก็ตาม จากการ ระบาดหลายครั้งในหลายประเทศ ก็ยังไม่เคยพบว่ามีปลาติดเชื้อไข้หวัดนก การบริโภคปลาและสัตว์น้ำชนิดอื่นจึงมีความปลอดภัย แต่ควรทำให้สุกก่อน แม้ปลาน้ำจืดและสัตว์น้ำชนิดอื่นจะไม่ติดเชื้อไข้หวัดนก แต่อาจมีพยาธิ และเชื้อแบคทีเรียอื่น ๆ ดังนั้นจึงควรทำให้สุกก่อนรับประทาน

7. อาหารเกี่ยวกับไก่ เป็ด ห่าน และไข่ ประเภทใดบ้างที่ปลอดภัยโดยผู้บริโภคไม่ต้องกังวลในเรื่องอันตราย จากไข้หวัดนก
          - อาหารที่ผ่านความร้อนมาอย่างเหมาะสมอย่างน้อยที่ใจกลางของอาหารต้องมีความ ร้อนสูงถึง 70 องศา- เซลเซียส อาหารประเภทที่ต้องปรุงโดยใช้ไก่ทั้งตัว เช่น ไก่อบฟาง ไก่ต้ม อาจต้องใช้เวลานานขึ้น ส่วนอาหารที่ใช้วิธีปิ้ง ย่าง ทอด เช่น ไก่ย่าง ไก่ทอด หรืออาหารประเภทต้ม ตุ๋น เช่น ไข่พะโล้ ไข่ต้ม ไข่ตุ๋น หรือขนมที่ทำจากไข่ จะใช้ความร้อนที่สูง เชื้อไข้หวัดนกจะถูกทำลาย สามารถบริโภคได้อย่างปลอดภัย

8. ข้อแนะนำสำหรับการบริโภคเพื่อความปลอดภัยสูงสุด
          - แม้ว่าการบริโภคอาหารประเภทไก่ เป็ด ห่าน และไข่ ที่ปรุงสุกไม่ก่อให้เกิดการติดโรคไข้หวัดนก แต่เพื่อให้เกิดความมั่นใจและเกิดความปลอดภัยสูงสุด ผู้บริโภคควรให้ความสำคัญกับหลักสุขอนามัยที่ดี ได้แก่ การล้างมือให้สะอาด การป้องกันการปนเปื้อนข้ามจากอาหารดิบไปอาหารสุก และการปรุงอาหารให้สุก หลีกเลี่ยงอาหาร ประเภทดังกล่าวที่มีลักษณะกึ่งสุกกึ่งดิบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น