วันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2554

เล็ปโตสไปโรซิส

ลักษณะทั่วไป
    
เล็ปโตสไปโรซิส เป็นโรคติดเชื้อที่พบได้เป็นครั้งคราวในแทบทุกจังหวัด พบมากในคนที่มีอาชีพที่ต้องย่ำน้ำ เช่นทำนา ทำสวน เก็บขยะ ขุดท่อ เลี้ยงสัตว์ ทำงานในโรงฆ่าสัตว์ หรือทำเหมืองแร่พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
     โรคนี้พบได้ประปรายตลอดปี แต่จะพบมากในช่วงเดือนตุลาคม และพฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงที่มีน้ำขังหรือเกิดภาวะน้ำท่วม มีเชื้อโรคขังอยู่ในน้ำ เมื่อคนเดินลุยน้ำก็มีโอกาสได้รับเชื้อนี้ บางครั้งอาจพบมีการระบาด
     
เกิดจากเชื้อ Leptospira ใน order Spirochaetales เป็นแบคทีเรียที่มีรูปร่างเป็นเกลียว ขนาด
เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.1 um ความยาวประมาณ 6 - 20 um สามารถเคลื่อนที่ได้ แบ่งออกได้ 2 สปีชีส
- Leptospira biflexa   เป็นเชื้อที่ไม่ก่อให้เกิดโรค


- Leptospira interrogans  เป็นพวกที่ก่อให้เกิดโรคและเป็นพวกอาศัยแบบปรสิต เป็นโรคติดต่อจากสัตว์มาสู่คน     
 
     พื้นที่เสี่ยงได้แก่ภาคอีสานตอนใน และภาคอีสานตอนใต้ ภาคเหนือ ภาตกลาง และภาคใต้ เช่น บุรีรัมย์
มหาสารคาม สุรินทร์ หนองบัวลำภู อุดรธานี เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ พิษณุโลก กรุงเทพ อยุธยา ชัยนาท สระแก้ว กระบี่
      ในปี 2542 ที่ผ่านมา มีผูป่วยด้วยโรคเลปโตสไปโรซีส ถึง 6080 คน ตาย 266 คน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบเมื่อ 3-4 ปีที่ผ่านมา จะพบว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้นจนน่าตกใจ สถิติในปี 2537 ตรวจพบผู้ป่วยโรคฉี่หนูนี้เพียง 100 คน เพิ่มขึ้นมาเป็น 143 คนในปี 2538 เพิ่มเป็น 358 คนในปี 2539 และพุ่งสูงขึ้นเป็นกว่า 2000 คนในปี 2540 จึงทำให้ในปี 2543 นี้ทางกองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรคติดต่อ จำเป็นต้องดำเนินการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด เพราะเกรงว่าจำนวนผู้ป่วยอาจเพิ่มสูงขึ้นอีกได้

สาเหตุ
     
เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ที่มีชื่อว่าเชื้อเล็ปโตสไปร่า (Leptospira) เชื้อนี้จะมีอยู่ในไตของสัตว์แทะ ที่พบบ่อย คือ หนูท่อ หนูนา หนูพุก นอกจากนี้ยังพบใน สุนัข หมู วัวควาย สัตว์เหล่านี้จะปล่อยเชื้อออกมากับปัสสาวะ คนเราจะรับเชื้อโดยการกินอาหาร หรือดื่มน้ำที่เปื้อน ปัสสาวะของสัตว์เหล่านี้ หรือไม่ก็โดยการเดินลุยน้ำ หรืออาบน้ำที่แปดเปื้อนปัสสาวะของสัตว์เหล่านี้ แล้วเชื้อก็จะเข้าทางบาดแผลขีดข่วนตามผิวหนัง หรือเข้าทางเยื่อบุจมูก ปาก หรือตาที่ปกติ   ระยะฟักตัว2-20 วัน (ที่พบบ่อย คือ 7-12 วัน) ที่สำคัญอุบัติการณ์การเกิดโรคพบว่าการระบาดของเชื้อเลปโตสไปโรซีสได้มีการเปลี่ยนจากสายพันธุ์เดิมคือ lacterohaemorrhagiae และ batavia ซึ่งสัตว์ที่เป็นแหล่งรังของโรคได้แก่หนู (ที่มาของชื่อโรคฉี่หนู) แต่ได้เริ่มเปลี่ยนไปเป็นสายพันธุ์ใหม่คือ pyrogenes , bratislava และsejroe ซึ่งสามารถพบได้ใน โค กระบือ สุกร ซึ่งทำให้ต้องเพิ่มการระมัดระวังมากขึ้น เพราะสัตว์ดังกล่าวเป็นสัตว์ใหญ่ เวลาปัสสาวะที่จะมีจำนวนเขื้อออกมาได้มากกว่า หนู นั่นเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีผู้ป่วย
เพิ่มมากขึ้นเกือบ 50 เท่าในช่วงระยะเวลาเพียงไม่กี่ปี ดังนั้นประชาชนจึงควรระมัดดระวังป้องกันตนเอง เพราะโรคเลปโตสไปโรซีส หรือฉี่หนูนี้สามารถป้องกันและรักษาได้โดยง่าย หากมาพบแพทย์ทันเวลา  

อาการ
     
ผู้ป่วยจะมีไข้สูงหนาวสั่น เกิดขึ้นเฉียบพลัน ปวดศีรษะรุนแรง และปวดเมื่อยตามตัวมาก คล้ายไข้หวัดใหญ่ แต่จะรู้สึกปวดมากตรงบริเวณน่อง ผู้ป่วยจะมีอาการตาแดง เจ็บคอ เบื่ออาหารอาเจียนท้องเดิน ปวดท้องทั่ว ๆ ไป หรือปวดตรงชายโครงขวา (บางคนอาจปวดรุนแรงถึงกับต้องผ่าตัดช่องท้องดู) เยื่อหุ้มสมองอักเสบ  มีผื่นที่เพดานปาก  อาจมีอาการตาเหลืองหลังมีไข้ 2-5 วัน ต่อมาอาจมีจุดแดงจ้ำเขียวขึ้นตามผิวหนัง มีเลือดออกที่เยื่อตาขาว อาจไอ อาเจียน หรือถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะเป็นเลือด ในรายที่เป็นมาก อาจมีภาวะไตวายเฉียบพลัน ปัสสาวะออกน้อย หรือไม่ออกเลย อาจมีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือมีอาการของเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (ปวดศีรษะรุนแรง และคอแข็ง)
การติดเชื้อส่วนใหญ่มักไม่มีอาการหรือแสดงอาการแบบอ่อนจนไม่สามารถวินิจฉัยโรคนี้ได้ จนปล่อยให้เกิดอาการอย่างรุนแรง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ทำให้ถึงเสียชีวิตได้ สาเหตุการเสียชีวิตที่สำคัญมักมาจาก ตับและไตวาย การที่มีเลือดออกมาก ทางเดินหายใจล้มเหลว  ระยะฟักตัวของโรคนี้กินเวลาประมาณ 10 วันหลังการได้รับเชื้อ ( ช่วงประมาณ 5-19 วัน) เชื้อจะถูกขับออกมาทางปัสสาวะพบได้หลังจากได้รับเชื้อประมาณ 1 เดือน

สิ่งตรวจพบ
      ไข้สูง 39-40 ํซ. ตาแดง และมีอาการปวดน่องมากเมื่อใช้มือบีบ ตับมักโต และเจ็บเล็กน้อย  อาจพบอาการตาเหลืองตัวเหลือง มีจุดแดงจ้ำเขียวตามผิวหนัง ซีด หรือชีพจรเต้นไม่สม่ำเสมอ


การแยกวินิจฉัยออกจากโรคอื่น
     ในพื้นที่ที่มีโรคนี้เป้นโรคประจำถิ่น การติดเชื้อส่วนใหญ่ มักไม่มีอาการหรือแสดงอาการแบบอ่อนจนไม่สามารถวินิจฉัยโรคนี้ได้ นอกจากนี้ยังต้องแยกอาการออกจากโรคอื่นๆอีกหลายโรคเช่น โรค  ไข้หวัดใหญ่ ไข้เลือดออก ตับอักเสบจากไวรัส สครับไทฟัส มาลาเรีย ไทฟอยด์ ไข้เลือดออกฮันตา เยื่อหุ้มสมองอักเสบอื่นๆ ในช่วง 24-72 ชั่วโมงแรก อาการจะคล้ายกับโรคสครัปไทฟัส และโรคไข้เลือดออกฮันตามาก โดยการตรวจทางซีโรโลยี่ต่อโรคไข้เลือดออกฮันตา ในเกาหลีพบว่า มี 21 % เป็นแอนติบอดีย์ต่อเชื้อ เลปโตสไปโรซีส ประมาณ 6% เป็นแอนติบอดีย์ต่อเชื้อสครัปไทฟัส เป็นต้น ดังนั้นจำเป็นต้องอาศัยผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการมาช่วย เช่นการตรวจหาระดับแอนติบอดีย์ต่อเชื้อเลปโตสไปโรซีส การตรวตค่าครีเอตินีน ยูเรีย เม็ดเลือดขาวเพิ่มสูง ในระยะหลังของการป่วยจะพบระดับ บิลลิรูบินขึ้นสูง ในขณะที่ค่าSGOT/SGPT ปกติ ในการตรวจพิสูจน์โรคในผู้เสียชีวิตจะพบพยาธิสภาพ ดีซ่าน มีเลือดออกตามเนื้อเยื่อต่างๆ ไตโตและซีด มีเลือดออก มีการเสื่อมสลายของเซล renal tubula สามารถย้อมพบตัวเชื้อในเนื้อเยื่อได้


ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
     
1. ในรายที่ไม่มีเลือดออก ระดับฮีโมโกลบินจะปกติ
      2. ผู้ป่วยที่มีอาการเหลือง จะมีเม็ดเลือดขาวขึ้นสูงระหว่าง 11000-20000 / cu.mm.
      3. จำนวนเกล็ดเลือดมักต่ำกว่า 1000000- cu.mm.
      4. พบค่า BUN / Creatinine ขึ้นสูง
      5. ค่า Bilirubin ขึ้นสูง แต่ค่า SGPT ปกติหรือสูงเล็กน้อย (ซึ่งแตกต่างจากไวรัสตับอักเสบ)
      6. ตรวจพบไข่ขาว Albumin ในปัสสาวะ อาจพบ Cast ต่างๆในปัสสาวะได้
      7. ในรายเยื่อหุ้มสมองอักเสบ จะพบเม็ดเลือดขาวในน้ำเจาะไขสันหลัง

อาการแทรกซ้อน
     
ที่อาจพบได้ คือ ปอดอักเสบ , กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ, เยื่อหุ้มสมองอักเสบ , ภาวะไตวาย   หรือช็อกจากการเสียเลือด

การรักษา
     
การรักษาจำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะที่รวดเร็วและระดับที่เหมาะสม การรักษาตามอาการเพื่อแก้ไขความผิดปกติและภาวะแทรกซ้อน และร่วมกับการรักษาแบบประคับประคองการให้ยาปฏิชีวนะโดยเร็วจะสามารถช่วยลดความรุนแรงของโรค ยาที่ได้ผลดีที่สุดในการรักษาคือเพนนิซิลีน สำหรับรายที่แพ้ต่อเพนนิซิลีนให้ใช้ doxycyclin แทนในรายอาการหนักแบ่งให้ Pennicillin G ขนาด 1.5 ล้านหน่วยทุก 6 ชั่วดมง เป็นเวลา 7 วัน ฉีดเข้าเส้นเลือดดำ หรือให้ Ampicillin เข้าเส้นเลือดดำ 4 กรัมต่อวันโดยแบ่งให้ 1 กรัมทุก 6 ชั่วโมง ติดต่อกัน 7 วัน ในรายแพ้ต่อกลุ่ม Penicillin ให้ Doxycycline เข้าเส้นเลือดดำขนาด 100 มิลลิกรัมทุก 12 ชั่วโมง นาน 7 วัน หากสงสัย ควรส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว
     - การตรวจเลือด จะพบจำนวนเม็ดเลือดขาวสูงกว่าปกติ บางคนอาจสูงถึง 50,000 ตัวต่อ
  ลูกบาศก์มิลลิเมตร
     - นอกจากนี้ยังอาจพบระดับของบียูเอ็น (BUN) และครีอะตินิน (creatinine) สูงกว่าปกติ
      - การตรวจปัสสาวะพบสารไข่ขาว เม็ดเลือดแดง และเม็ดเลือดขาว
      - ในรายที่ปวดศีรษะรุนแรง หรือสงสัยเป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบแทรกซ้อน อาจต้องเจาะหลัง
      - อาจต้องทำการเพาะเชื้อจากเลือด ปัสสาวะ หรือน้ำไขสันหลัง
      - การทดสอบทางน้ำเหลือง จะพบแอนติบอดีต่อเชื้อนี้ขึ้นสูง
การรักษา ให้ยาปฏิชีวนะ เช่น ฉีดเพนิซิลลินจี อย่างน้อยวันละ 2 ล้านยูนิต (ในรายที่เป็นรุนแรง
อาจให้ถึง 4-6 ล้านยูนิต) หรือเตตราไซคลีน   ครั้งละ 250-500 มก. วันละ 4 ครั้ง หรือดอกซีไซคลีน
100 มก. วันละ 2 ครั้ง ซึ่งจะได้ผลในระยะต้นของโรคเท่านั้น (คือภายใน 4 วันหลังมีอาการ) ยิ่งเร็ว
เท่าไรยิ่งได้ผลดี และควรให้ยาอย่างนาน 7-10 วัน นอกจากนี้จะให้การรักษาตามอาการที่พบ เช่น
ให้ยาลดไข้ , ให้น้ำเกลือ ถ้ามีภาวะขาดน้ำ, ให้เลือดถ้ามีเลือดออก ถ้ามีภาวะไตวาย อาจต้องทำ
การฟอกล้างของเสีย หรือไดอะไลซิส (dialysis) ผลการรักษาขึ้นกับความรุนแรงโรค และสภาพของ
ผู้ป่วย ถ้าไม่มีอาการดีซ่าน อาการมักจะไม่รุนแรง แต่ถ้ามีดีซ่านร่วมด้วย มักจะมีภาวะแทรกซ้อน
รุนแรง และมีอัตราตายถึง 15% ซึ่งมักเกิดจากภาวะไตวาย หรือช็อกจากการเสียเลือด

การป้องกัน
ต้องอาศัยการเฝ้าระวังการระบาดของโรค ประกอบด้วย
      - การเฝ้าระวังโรคในคนเพื่อทราบข้อมูลของผู้ป่วย ข้อมูลทางห้องปฏิบัติการ
      - การสอบสวนการระบาดของโรคในสัตว์เลี้ยง สัตว์ป่า
      - การตรวจแหล่งน้ำ ดินทราย เพื่อค้นหาแหล่งปนเปื้อนเชื้อ หรือแหล่งแพร่เชื้อ
      - ควบคุมกำจัดหนู แยกสัตว์เลี้ยงที่ติดเชื้อไปรักษา ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
     
1. คื่มน้ำและอาหารที่รุงสุกใหม่ๆ ด้วยความร้อน
      2. ป้องกันอาหารมิให้หนูมาปัสสาวะรดได้
      3. ในพื้นที่เสี่ยงหลีกเลี่ยงการลุยน้ำที่อาจปนเปื้อนเชื้อได้ โดยเฉพาะถ้ามีแผลที่มือหรือเท้า แม้จะเป็น  แผลถลอก รอยขีดข่วน ถ้าเลี่ยงไม่ได้ให้สวมรองเท้าบู๊ทแล้วรีบอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาดหลัง  แช่น้ำสกปรกมา
      4. สวมรองเท้า ถุงมือยางเพื่อป้องกันการสัมผัสถูกน้ำโดยตรง
      5. ควรเผาบริเวณที่จะทำการเพาะปลูกเพื่อไล่หนูออกไปไม่ให้มาปัสสาวะรดบริเวณที่จะทำงาน
      6. ในพื้นที่เสี่ยงควรฉีดวัคซีนป้องกัน
      7. ในผู้ที่ต้องคอยดูแลผู้ป่วย ควรระมัดระวังสัมผัสถูกเลือด ปัสสาวะ สารคัดหลั่งต่างๆจากผู้ป่วย  เสื้อผ้าที่เปื้อนปัสสาวะต้องนำไปฆ่าเชื้อก่อน

ข้อแนะนำ

     
ถ้าพบผู้ป่วยมีไข้สูงเฉียบพลัน ตาแดง ปวดเมื่อยตามตัวคล้ายไข้หวัดใหญ่ ควรตรวจโดยการบีบดูน่องของผู้ป่วย ถ้ารู้สึกเจ็บน่องมาก ควรสงสัยว่าเป็นเล็ปโตสไปโรซิส (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้ามีตับโต หรือดีซ่านร่วมด้วย) และควรส่งไปรักษาที่โรงพยาบาลภายใน 24 ชั่วโมง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น