วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เตือนภัย! โรคที่มากับน้ำท่วม

             ช่วง นี้หลายจังหวัดของประเทศไทยจมอยู่ใต้บาดาล เนื่องจากฝนที่ตกหนักต่อเนื่องกันมาหลายวัน ไม่เพียงแต่ประชาชนที่ประสบอุทกภัยจะต้องทนทุกข์จากการต้องหาที่อยู่ ที่กินในช่วงน้ำท่วมเท่านั้น หากแต่ยังต้องดูแลตัวเองให้ห่างไกลโรคที่มาจากน้ำท่วมด้วย 

            โรคที่มักจะพบได้เมื่อเกิดภาวะน้ำท่วม คือ โรคน้ำกัดเท้าจากเชื้อรา เป็นโรค ที่มาจากการย่ำอยู่ในน้ำหรือแช่น้ำที่มีเชื้อโรค หรือความอับชื้นจากเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายที่ไม่สะอาดไม่แห้งเป็นเวลานาน ซึ่งอาการในระยะแรกนั้นจะเริ่มต้นที่อาการคันตามซอกนิ้วเท้า ผิวหนังจะลอกออกเป็นขุย มีผื่น ระยะหลังๆ ผิวหนังที่เท้าเกิดพุพอง เท้าเปื่อย และเป็นหนอง ที่สำคัญอาจเกิดโรคผิวหนังอักเสบแทรกซ้อนได้ง่าย

วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

โรคไข้หวัดใหญ่ (Influenza virus)

ไข้หวัดใหญ่และไข้หวัดต่างกันอย่างไร

    ไข้หวัดใหญ่เป็นการติดเชื้อ Influenza virus เป็นการติดเชื้อทางเดินระบบหายใจ เชื้ออาจจะ ลามเข้าปอดทำให้เกิดปอดบวม ผู้ป่วยจะมีไข้สูง ปวดศรีษะ ปวดตามตัวปวดกล้ามเนื้อมาก จะพบ มากทุกอายุโดยเฉพาะในเด็กจะพบมากเป็นพิเศษ แต่อัตราการเสียชีวิตมักจะพบมากในผู้ที่มีอายุ มากกว่า 60 ปีหรือผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคตับ โรคไต เป็นต้น การฉีดวัคซีน ป้องกันไข้หวัดใหญ่เป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุด สามารถลดอัตราการติดเชื้อ ลดอัตราการนอน โรงพยาบาล ลดโรคแทรกซ้อน ลดการหยุดงานหรือหยุดเรียน
สำหรับไข้หวัดเป็นการติดเชื้อไวรัส ผู้ป่วยจะมีอาการน้ำมูกไหล ไข้ไม่สูงมากในปี คศ.2003 ได้มีการแนะนำเรื่องไข้หวัดใหญ่ดังนี้ ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการฉีดวัคซีนคือเดือน ตุลาคมและพฤศจิกายน(เนื่องจากเชื้อนี้มักจะระบาดในต่างประเทศ หากประเทศเราจะฉีด

โรคมือ เท้า ปาก

โรคมือ เท้า ปาก
            เกิดจากเชื้อไวรัสลำไส้หรือเอนเทอโรไวรัสหลายชนิด พบได้บ่อยในกลุ่มเด็กทารก และเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โรคเกิดประปรายตลอดปี แต่จะเพิ่มมากขึ้นในหน้าฝน ซึ่งอากาศมักเย็นและชื้น   โดยทั่วไปโรคนี้มีอาการไม่รุนแรง 
การแพร่ติดต่อของโรค
            การติดต่อส่วนใหญ่เกิดจากได้รับเชื้อไวรัสเข้าสู่ปากโดยตรง โรคแพร่ติดต่อง่ายในช่วงสัปดาห์แรกของการป่วย โดยเชื้อไวรัสอาจติดมากับมือ หรือของเล่นที่เปื้อนน้ำลาย น้ำมูก น้ำจากตุ่มพองและแผล หรืออุจจาระของผู้ป่วย และอาจเกิดจากการไอจามรดกัน ใน ระยะที่เด็กมีอาการทุเลาหรือหายป่วยแล้วประมาณ 1 เดือน จะพบเชื้อในอุจจาระได้ แต่การติดต่อในระยะนี้จะเกิดขึ้นได้น้อยกว่า